เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 4. นิยามกถา (46)
สก. หากบุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีโพชฌงค์เพื่อไปสู่นิยาม ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
[430] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีญาณในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
อรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[431] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม1
ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม
ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณ
เพื่อไปสู่นิยามได้”

นิยามกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. 663-664/269)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :461 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 5. ปฏิสัมภิทากถา (47)
5. ปฏิสัมภิทากถา (47)
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
[432] สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้สมมติ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจโตปริยญาณ(ญาณที่กำหนดรู้ใจผู้อื่น) เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจโตปริยญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้จิตของผู้อื่น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 432/212)
2 เพราะมีความเห็นว่า ญาณทั้งหมดของพระอริยะเป็นโลกุตตระ จึงจัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ญาณของพระอริยะบางอย่างไม่จัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ.
432/212)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :462 }